วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ส่วนที่ 1 วิชาการจัดการกลยุทธ์

ส่วนที่ 1. ส่วนที่ 1. ความเป็นมาของ วิชา การจัดการเชิงกลยุทธ์
1.1. ความเป็นมาของคำว่า กลยุทธ์
คำว่า กลยุทธ์ (Strategy) มีรากศัพท์ มาจากภาษา กรีก (Greek) ว่า “Strategos“โดยความหมายดังเดิม เป็นภาษาทหารที่ใช้อธิบายถึงยุทธวิธี ของแม่ทัพในการจัดทัพ และเคลื่อนย้ายพลเพื่อต่อสู้กับกองทัพของข้าศึก (ความหมายของ Carl Von Clauswitz)

นักคิด “กลยุทธ์” จากอดีต ถึงปัจจุบัน
Carl Von Clausewitz นักทฤษฎี ด้านยุทธการแห่งศตวรรษที่ 19 ได้อธิบาย ว่า ยุทธศาสตร์ หรือ กลยุทธ์ เป็น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการร่างแผนการทำศึกสงครามและการกำหนดรูปแบบการต่อสู้ในแต่ละสมรภูมิ ซึ่งต้องตัดสินใจว่าจะเข้ายึดสมรภูมิแต่ละแห่งด้วยวิธีใดCarl Philipp Gottlieb von ClausewitzJuly 1, 1780(1780-07-01) – November 16, 1831 (aged 51)
ความเป็นจริง แล้ว ทางจีน มีคำว่า ยุทธ์ศาสตร์ จากวรรณกรรมชิ้นสำคัญก็คือ "ตำราพิชัยสงครามของซุนวู" (Sun-Tzu - The Art of War)
ซุนวู เป็นนักการทหาร และ นักยุทธ์ศาสตร์ ชาวจีน เมื่อกว่า 2, 500 ปีก่อน ได้เขียนศาสตร์ พิชัยสงครามแบบสมัยโบราณ ที่ยังสะท้อนให้เห็นปรัชญาการบริหารแบบจีน ถึงแม้ในปัจจุบัน คำกล่าวใน ตำราพิชัยสงคราม ของ ซุ่นวู ก็ยังเป็นที่ยอมรับ ซึ่งหลายท่าน คงได้ยิน กันอย่างคุ้นเคย ได้แก่

"รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง
รู้เราแต่ไม่รู้เขา เจ้าจะชนะหนึ่งครั้งแพ้ครั้งสลับกันไป
ไม่รู้เขาไม่รู้เรา รบร้อยครั้งแพ้ร้อยครั้ง"
ตำราพิชัยสงคราม ของ ซุ่นวู มีด้วยกัน 3 บทใหญ่ คือ
บทที่1 การประมาณการณ์ และ การวางแผน,
บทที่2 การทำสงคราม และ
บทที่3 การวางแผนโจมตี
หารูป ศึก ของ จีน
· ตำราพิชัยสงคราม ของ ซุ่นวู ได้รับการยอมรับอย่างมาก เป็นเพราะ ซุ่นวู จะให้ความสำคัญ และ คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ จากการทำสงคราม เช่น
· ”การสนับสนุนการทหารช่วยให้ประเทศชาติมีอานุภาพ” จงคว้าชัยมาโดยยอมให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด
· หลีกเลี่ยงการรบที่ยาวนานและสิ้นเปลือง ควาเชี่ยวชาญการศึกคือหัวใจ ตัดสินอนาคตของรัฐ ตัดสินว่าชาวบ้านจะอยู่ได้อย่างเป็นสุขหรือทุกข์ยาก
สำหรับ เนื้อหาย่อ ของตำราพิชัยสงคราม ของซุ่นวู อ่านได้ในเอกสารประกอบ รายละเอียดแนบ1
หากเรามามองย้อนกลับไปเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน ภาพของการทำสงครามและการต่อสู้ของกองทหารจะมีอยู่ทั่วไปในทุกแห่งบนโลก เนื่องจากแต่ละฝ่ายต่างต้องการเป็น “มหาอำนาจ” ในอดีตจำนวนของกำลังไพร่พลเป็นดัชนีวัดความยิ่งใหญ่ของกองทัพ ใครมีกำลังพลมากกว่าก็จะมีมีพลังอำนาจมากกว่าซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบในการทำสงคราม สามารถทำการขยายอาณาเขตการปกครองของตนได้ และสิ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือการมีกำลังใจที่เข้มแข็งของทหาร นอกจากนี้ภูมิประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยป้องกันจากการถูกข้าศึกรุกราน ตัวอย่างเช่นรัสเซีย ที่มีภูมิประเทศกว้างใหญ่ และพื้นที่บางส่วนก็มีสภาพภูมิอากาศที่แสนจะโหดร้ายและกันดาร ทำให้ผู้ที่เข้ามารุกรานรัสเซียอ่อนกำลังลงและเปลี่ยนสถานะจากผู้จู่โจมกลายมาเป็นผู้ตั้งรับและในที่สุดก็ต้องพบกับความพ่ายแพ้และถอยทัพกลับไป
สมัยโบราณ นักรบมักเชื่อเรื่องดวงชะตา เป็นเรื่องที่ทำให้กองทัพเหล่านั้นอ่อนแอลง และเสียเปรียบในเรื่องของจิตใจ ยกตัวอย่างอาณาจักรมองโกล ที่มีความยิ่งใหญ่และเกรียงไกรไปทั่วโลก ขยายพื้นที่แผ่ครอบคลุมไปแทบจะทุกมุมเมืองแบบค่อยเป็นค่อยไป เมื่อพวกมองโกล ยึดเมืองใดได้แล้วก็จะค่อย ๆ สะสมกำลังอาวุธ กำลังเสบียงในเมืองนั้น ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาจากเมืองแม่ ช่วยประหยัดและย่นระยะเวลาไปได้มาก จากนั้นพอกองทัพของพวกเข้าเข้มแข็งและกล้าแกร่งขึ้น จึงค่อยคืบคลานไปยึดเมืองอื่น ๆ ต่อไป โดยใช้วิธีการแบบเดียวกันนี้ไปเรื่อย ๆ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการอันชาญฉลาดและแยบยลมาก ทั้งนี้การเข้าครอบครองดินแดนต่าง ๆ ก็ใช้เวลากว่า 300 ปี ในการเสริมสร้างอำนาจให้เข้มแข็ง มั่นคง และฝึกฝนกำลังพลอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับการวางแผนการรบอย่างเป็นขั้นตอน มีหลักการ ทำให้พวกมองโกลสามารถประสบความสำเร็จในการขยายอาณาจักรและเข้ายึดครองเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างยาวนานที่สุดในโลกเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย ตะวันออกกลางและยุโรป ล้วนแล้วแต่ถูกพวกมองโกล เข้ายึดครองแล้วทั้งนั้น แม้ว่าจะต้องฝ่าฟันอุปสรรคทางด้านภูมิอากาศอันหนาวเย็น โหดร้ายสักปานใดก็ตาม
อย่างไรก็ตาม หลังจากสิ้นสุดยุคพวกมองโกลเรืองอำนาจแล้ว ก็ตามมาด้วย “ยุคล่าอาณานิคม” เกิดขึ้นจากพวกยุโรปที่ถือเป็นกลุ่มชนที่มีความเจริญทางด้านวัฒนธรรมและการทหารมากที่สุดของโลกในขณะนั้น เมื่อ 200 กว่าปีที่แล้วพวกยุโรปได้ก้าวเข้าสู่ความมั่งคั่งจากการประสบความสำเร็จในการเดินทางด้วยเรือที่สามารถนำกำลังทหารเดินทางจากยุโรปไปสู่ที่ใดก็ได้ และเข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ นับว่าโชคดีที่ในขณะนั้นประเทศไทยไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศใดเลย และเป็นเพียงประเทศเดียวของเอเชียเท่านั้น ที่สามารถรักษาเอกราชเอาไว้ได้
ในประวัติศาสตรทางการสงครามหรือการทหารของโลกนอกเหนือไปจากนักการทหารที่ยิ่งใหญ่ในอดีตเชน อเล็กซานเดอรมหาราช หรือจูเลียส ซีซาร์ แล้ว โลกต่างรูจักและยอมรับในตัวของ นโปเลียนโบนาปารด นักรบผูมีอัจฉริยะภาพทางการเมืองและการทหารที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกร ผู้นําประเทศฝรั่งเศสไปสูความเป็นมหาอํานาจที่มีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อยุโรป หลายต่อหลายการศึกของนโปเลียนกลายเป็นแบบฉบับของการทําสงครามที่มีผู้วิเคราะห์ และศึกษาในแนวคิด หลักการสงคราม ศิลปะในการนําทัพและมรดกอื่นๆ ที่เขาได้ทิ้งไว้อย่างต่อเนื่องและนําแนวคิดเหลานั้นมาประยุกต์ใช้ต่อ
นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napolon Bonaparte) (15 สิงหาคม พ.ศ. 2312 (1769) - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2364 (1821)) เป็นนักรบฝั่งตะวันตก ในยุโรป จากประวัติศาสตร์ เป็นนักการทหาร ที่คนริเริ่มเอา เรื่อง ยุทธ์ศาสตร์ มาใช้ในการศึก ออกรบนับครั้งไม่ถ้วน จนเกือบครองยุโรปได้ เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) และได้กลายเป็นจักรพรรดิ ของชาวฝรั่งเศสระหว่างปี พ.ศ. 2347 (ค.ศ. 1804) ถึง พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) ภายใต้พระนามว่า นโปเลียนที่ 1 ผู้ได้มีชัยและปกครองดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป เช่น ประเทศสเปน, ประเทศอิตาลี,ประเทศเยอรมนี, ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ ประเทศสวีเดน เป็นต้น
นโปเลียนมาจากสามัญชนสู่กษัตริย์ผู้นำความยิ่งใหญ่มาสู่ยุคล่าอาณานิคม ฝรั่งเศสถือว่าเป็นประเทศที่มีความเกรียงไกรและประสบความสำเร็จสูงที่ที่สุด จนทำให้คนฝรั่งเศสมีความรู้สึกภาคภูมิใจสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นโปเลียนนำทัพสร้างความยิ่งใหญ่ในการรบและยึดครองประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีอาณาเขตติดกับฝรั่งเศสด้วยยุทธวิธียึดครองอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต ทั้งนี้เพราะ นโปเลียนเป็นนักรบที่ไม่ได้ใช้กำลังรบเป็นหลักเพียงอย่างเดียวซึ่งต่างจาก ประเทศอื่น ที่มักจะเอาจำนวนของกำลังพลมาเป็นมาตรวัดความยิ่งใหญ่ แต่เขาเป็นคนแรกที่รู้จักใช้การวางแผน และกลยุทธ์ การคำนวณในเรื่องของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เอาความได้เปรียบในเรื่องของการเตรียมตัวและเวลา รวมไปถึงความมีประสิทธิภาพในการบริหารผู้คนในกองทัพให้มีระบบระเบียบ ทำให้กองทัพของฝรั่งเศสในยุคนั้นเป็นกองทัพที่เก่งกาจมาก สามารถเอาชนะกองทัพของประเทศอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ทุกครั้งและที่สำคัญจำนวนตัวเลขของความสูญเสียของกองทัพฝรั่งเศสหลังจากสิ้นสุดการสู้รบก็มีน้อยกว่ากองทัพอื่น ๆ มาก
นโปเลียนยังเป็นนักปกครองที่ทำให้เกิดระบบกฎหมายและระบบศาลแห่งความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในอดีตอีกเช่นกัน เขายังเป็นผู้ที่สร้างความเสมอภาคและทัดเทียมกันให้กับประชาชนและความยิ่งใหญ่จากความสำเร็จของการยึดครองของกองทัพฝรั่งเศส ทำให้เขาเกิดความรู้สึกฮึกเหิมและต้องการรวบรวมประเทศทั้งหมดของยุโรปให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงใช้กำลังเข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและเมื่อยึดครองได้แล้วก็ให้บรรดาญาติของตนเองขึ้นเป็นใหญ่และครอบครองประเทศนั้น ซึ่งถือเป็นการสร้างกระแสต่อต้านตัวเขาเป็นอย่างมาก ทั้งประเทศที่ถูกเขารุกรานแล้วและประเทศที่มีแนวโน้มที่จะถูกฝรั่งเศสเข้ารุกราน จนก่อให้เกิดการรวมตัวกันเป็นพันธมิตรขึ้นเพื่อต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสในยุคนั้น ในที่สุดจึงเป็นชนวนนำไปสู่การรุมจู่โจมฝรั่งเศสจนทำให้ฝรั่งเศสต้องพบกับความพ่ายแพ้ และนโปเลียนเองก็ต้องลงจากอำนาจถึงสองครั้งด้วยกัน
นโปเลียนไม่สามารถที่จะสานฝันของเขาที่ต้องการรวมเอายุโรปให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ด้วยการใช้กำลังเข้ายึดครอง หากวิเคราะห์วิธีการของนโปเลียนแล้วผมมองว่าไม่แตกต่างจากวิธีการในระบบคอมมิวนิสต์ เพราะในยุคต่อมาผู้นำรัสเซีย เช่นเลนนินต้องการรวมโลกนี้ให้เป็นหนึ่งเดียวเหมือนกันในระบบด้วยการใช้กำลัง แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับแนวคิดการรวมสหภาพยุโรปในปัจจุบันที่สามารถรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกันได้เพราะความพึงพอใจและการมีผลประโยชน์ร่วมกัน นับเป็นสิ่งที่ดีกว่าการใช้กำลัง
ปี 1971 Kenneth Andrews ได้เขียน แนวคิด เรื่อง “The Concept of Corporate Strategy 1971” Andrews เป็นแนวคิด ที่นักธุรกิจ นำเอาแนวความคิดเรื่องกลยุทธ์มาใช้เป็นแผนในการกำกับและจัดสรร ทรัพยากรต่างๆ (บุคลากร เครื่องจักร อุปกรณ์ การเงิน) โดยมีเป้าหมายในการสร้างและส่งเสริมให้เกิดปี 1971 (2514) Kenneth Andrews ได้เขียน แนวคิด เรื่อง “The Concept of Corporate Strategy 1971” Andrews เป็นแนวคิด ที่นักธุรกิจ นำเอาแนวความคิดเรื่องกลยุทธ์มาใช้เป็นแผนในการกำกับและจัดสร ทรัพยากรต่างๆ (บุคลากร เครื่องจักร อุปกรณ์ การเงิน)

Kenneth R. Andrews
(1916-2005)
โดยมีเป้าหมายในการสร้างและส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ มีการวิเคราะห์ ในเชิงจุดแข็งและจุดอ่อน(สิ่งที่ธุรกิจสามารถสร้างขึ้นจากภายในได้) รวมทั้ง โอกาส และ ภาวะคุกคาม (สิ่งที่เกิดจาก ภายนอกและ มีผลกระทบต่อธุรกิจ)ประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ มีการวิเคราะห์ ในเชิงจุดแข็งและจุดอ่อน(สิ่งที่ธุรกิจสามารถสร้างขึ้นจากภายในได้) รวมทั้ง โอกาส และ ภาวะคุกคาม (สิ่งที่เกิดจากภายนอกและ มีผลกระทบต่อธุรกิจ)
ศาสตร์จารย์ Kenneth R. Andrews, เป็นอาจารย์ ที่มหาวิทยาลัย Harvard Business School นับเป็น กูรู ยุคใหม่ผู้บุกเบิก องค์ความรู้เรื่อง Corporate Strategy (Harvard Business School ยกย่อง ให้เป็นProfessor and Father of Corporate Strategy)
ต่อมา Michael Porter ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย อาร์วาร์ด ได้ให้คำจำกัดความกลยุทธ์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าเป็น “หลักการพื้นฐานทั่วไปในการแข่งขันของธุรกิจ”

Michael E. Porter เป็นศาสตราจารย์แห่ง Harvard Business School ที่ เคยมาปาฐกถาพิเศษที่เมืองไทย เรื่อง “Competitive advantage” เป็น นักทฤษฏี"กลยุทธ์” ที่ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่ง สร้างชื่อเสียงไว้ กับหลายทฤษฏี ที่ยังคงเป็นที่นิยม ที่นำมาศึกษากันมากมาย เช่น competitive advantage, competitive strategy, Five forces Model (Porter's Five Forces Analysis), Value Chain, Diamond model, Porter's clusters, การเป็นผู้นำในเรื่องกลยุทธ์ การสร้างความแตกต่างของสินค้า, การวางตำแหน่งทางการตลาด เป็นต้น
1.2.การจัดการเชิงกลยุทธ์ คืออะไร
การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นคำ สองคำที่นำมารวมกัน ดังนั้นเพื่อหารความหมาย จึงใคร่ขอ แยกอธิบาย คำสองคำ ออกจากกันดังนี้
กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง การรบที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือวิธีการต่อสู้ ต้องใช้อุบายต่าง ๆ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525) หรือเป็นศาสตร์และศิลปะในการสั่งการกองทัพ มีการนำมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ กลยุทธ์จะเป็นเค้าโครง (Outline) ของขั้นตอนที่ผู้บริหารวางแนวทางในการบรรลุเป้าหมายในระยะยาวขององค์การ เรียกง่าย ๆ ว่า การวางแผนอย่างกว้าง ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในระยะยาว
การจัดการ (Management) เป็นศิลปะของการใช้บุคคลอื่น ทำ งานให้แก่ องค์การ โดยสนองตอบความต้องการ ความคาดหวังขององค์การ พร้อมทั้งจัดโอกาสให้เขาเหล่านั้นมีความเจริญในการทำงาน
การจัดการ คือ กระบวนการที่ดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ตามเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดการเป็นทั้ง วิทยาศาสตร์ และ ศิลปะ
อาจกล่าวได้ว่า การจัดการเป็นทั้งศาสตร์ และ ศิลป์ กล่าวคือ
· เป็นในเรื่องศาสตร์ ในด้าน กระบวนการ, ระบบ, เทคโนโลยี่ที่ใส่ในระบบเพราะ เป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับระบบ ในเชิงวิทยาศาสตร์ และ เป็นเรื่อง ของศิลปะ
· เป็นเรื่อง ศิลป์ ในด้านการบริหารคน ด้านมนุษย์สัมพันธ์,การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เป็นต้นเพื่อให้องค์การบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
ที่มา: http://www.geocities.com/teacher_jrp/s_organi.htm
การบริหารจัดการเป็นกระบวนการของกิจกรรมที่ต่อเนื่องและประสานงานกัน ซึ่งผู้บริหารต้องเข้ามาช่วยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ภายนอก

การกำหนดกลยุทธ์

การดำเนินกลยุทธ์
การควบคุมกลยุทธ์
สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปสภาพแวดล้อมดำเนินงาน
ภารกิจ

เป้า
หมาย


กลยุทธ์



นโย
บาย




โครง
สร้าง





งบประ
มาณ






ระเบียบวิธีฏิบัติงาน








ผลการดำเนินงาน
ภายใน
โครงสร้างวัฒนธรรมทรัพยากร
ที่มา: สมยศ นาวีการ, 2538 ข้อมูลป้อนกลับ
แบบจำลองของการบริหารเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategy Management) เป็นกระบวน การที่ต่อเนื่องในการสำรวจสภาพแวดล้อม เปรียบเทียบกับความต้องการและสถานะขององค์การ โดยผู้บริการต้องคำนึกถึงสถานการณ์ขององค์กรในระยะยาว แล้วนำมากำหนดแผนงาน การปฏิบัติ และการควบคุม ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantages) สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ และ เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์การ
ความหมายของคำว่า การจัดการเชิงกลยุทธ์ จากอดีต สู่ปัจจุบัน คำว่า “การจัดการเชิงกลยุทธ์”ได้ถูกพัฒนาให้กว้างขึ้นจาก Generalship (n. การบัญชากองทัพ,การนำทัพ, ยุทธวิธี, ตำแหน่งนายพล, อำนาจหน้าที่ของนายพล) ซึ่งใช้ในสนามรบ เท่านั้น ต่อมา คำว่า Strategia / Strategy หรือ กลยุทธ์ ต่อมา ถูกนำมาใช้เพิ่มขึ้นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และต่อมา กลายเป็นศาสตร์ ที่มีการนำมาศึกษาในวงกว้าง ของสถาบันการศึกษาต่างๆมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วงการการศึกษา ที่ศึกษาเรื่อง เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจ และต้องการให้เกิดการนำไปสู่การจัดทำนโยบายทางธุรกิจที่นำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานได้ในอนาคต
สำหรับวงการธุรกิจ มองว่า “การจัดการเชิงกลยุทธ์” เป็นแนวทาง ที่ผู้บริหารใช้เป็นเทคนิค หรือ ชั้นเชิง ในการบริหารที่เหนือกว่าคู่แข่ง โดยกำหนดทิศทางของธุรกิจ หรือ กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) พร้อมทั้ง วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การ ขององค์การในระยะสั้นและระยะยาว จากนั้นจึงวางแผนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยการนำกลยุทธ์เหล่านั้นไปประยุกต์ปฏิบัติ พร้อมๆกับการ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามแผนงาน และมีการควบคุมประเมินผลการดำเนินงาน ขององค์การ นอกจากนี้ การดำเนินงานแต่ละขั้นตอนต้องคำนึงถึงการปรับตัวให้ทันต่อภาวะที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ จะทำให้องค์การสามารถดำเนินงานตามพันธกิจ อันนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
เนื่องจากการจัดการต้องมีการเพิ่มมูลค่า เพื่อให้องค์กรแข็งแกร่ง ซึ่งถ้าอ่อนแอ ในยุคการแข่งขันก็จะหายไปจากวงจรของธุรกิจ ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดผู้บริหารจึงคิดหากลยุทธ์ในการบริหารจัดการอย่างดีที่สุด และที่นำมาใช้กันในปัจจุบันในองค์กรต่าง ๆ ทั้งทางธุรกิจภาคเอกชนและรัฐบาล
กลยุทธ์/ ยุทธ์ศาสตร์
มีบ่อยครั้ง ที่เรา มักได้ยิน ว่า Strategy หมายถึง กลยุทธ์ บ้าง ยุทธศาสตร์บ้าง ความจริงแล้ว สองคำนี้ มีส่วนที่คล้ายคลึงกันมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วคำว่า ยุทธศาสตร์ มักมีความหมายในระดับชาติ ส่วนกลยุทธ์ คือ Tactics ซึ่งก็แปลเป็นนัยได้ว่า ยุทธศาสตร์ใหญ่กว่ากลยุทธ์ (นั่นคือจะต้องมียุทธศาสตร์ก่อนแล้วค่อยกำหนดกลยุทธ์) (พสุ เดชะรินทร์, 2548)
ยุทธศาสตร์ในระดับสูงสุดของประเทศ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ หรือ Grand National Strategy เป็นขบวนการซึ่งวัตถุประสงค์หลักของชาติได้รับการยอมรับ จุดมุ่งประสงค์สุดท้ายของ Grand strategy มักจะถูกกล่าวถึงในรูปของผลประโยชน์แห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคง และความมั่งคั่ง บทบาทของขบวนการ Strategy ก็คือ แปลผลประโยชน์ของชาติเหล่านั้นให้เป็นวิธีการ หรือเครื่องมือที่จะทำให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์เหล่านั้น นั่นเอง ส่วนเครื่องมือ หรือวิธีการต่าง ๆ ก็จะถูกกล่าวถึงในรูปของเครื่องมือพลังอำนาจแห่งชาติ National Powers ซึ่งก็คือ การเมือง (หรือการทูต) การทหาร เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา รวมทั้ง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น Grand National Strategy จึงเป็นขบวนการซึ่งมีการจัดและใช้เครื่องมือที่เป็นพลังอำนาจแห่งชาติทุก ๆ ด้าน เพื่อให้บรรลุผลประโยชน์ของชาติ นั่นเอง (http://th.wikipedia.org/wiki/)
ตัวอย่าง ยุทธศาสตร์ ข้าว ของไทย
กระทรวงเกษตรฯ สนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ เปิดตัวสำนักงานข้าวแห่งชาติอย่างเป็นทางการ พร้อมผลักดันยุทธ์ศาสตร์ข้าวแห่งชาติ
www.ThaiPR.net -- พฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2005
กระทรวงเกษตรฯ จัดงาน “ข้าวไทยก้าวไกลด้วยน้ำพระทัยแม่” เพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระชนมายุ ครบ 73 พรรษา พร้อมน้อมรับพระราชเสาวนีย์ที่ทรงห่วงใยข้าวและเกษตรกรไทย ตั้งสำนักงานข้าวแห่งชาติเป็นองค์กรหลักดำเนินการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับข้าวทั้งระบบ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชาวนาไทยให้ดีขึ้น
ตัวอย่างยุทธศาสตร์ สิงค์โปร์
ยุทธ์ศาสตร์ 10 ปี:โครงการค้าปลีกสิงคโปร์ 3
พุธ, 14 พฤษภาคม 2008 22:52 อ.พีระพงษ์
จากภาพการพัฒนาค้าปลีกสิงคโปร์ ผลการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของลูกค้าทำให้การค้าทั้งระบบชะลอตัวลง การรวมบุคลากรจากภาคเอกชนที่เข้าใจรวมถึงการแบ่งงานในแต่เป้าหมายให้รับผิดชอบคือ แนวทางการทำงาน การทำงานของกลุ่มคนที่มาร่วมรักษาผลประโยชน์ร่วมกันนั้นต้องมีการวางแนวทางชัดเจน เช่น เดียวกันกับโครงการ R21ซึ่งได้มีการวางแผนและแนวทางการทำงานของกลุ่มดังนี้
กลยุทธ์ใหม่ R21 : ลงทุนวันนี้เพื่อ 10 ปีข้างหน้า
การวางแผนงานเพื่อพัฒนาได้ถูกวางโดยหน่วยงานที่เรียกว่า PSB (Singapore Productivity and Standard Board ) หรือ คณะกรรมการประสิทธิภาพและมาตรฐาน และหน่วยงาน การค้าภายใน ของรัฐบาล( หมายเหตุ: ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อไปแล้ว ) โดยวางงบประมาณไว้ 400 ล้านบาทโดยประมาณ การวางแผนพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ
1. การสนับสนุนให้ร้านค้านำเอาอุปกรณ์ที่สำคัญมาใช้ในการประกอบการ เพื่อการวางระบบและการจัดการ เช่น ระบบการบริหารสินค้า เงินสด และการบริการลูกค้า โดยรัฐบาลสนับสนุนการลงทุน
2. การส่งเสริมให้พัฒนารูปแบบการขยายงานแบบ แฟรนไชส์
3. การสร้างสถาบันเพื่อการศึกษาสำหรับธุรกิจค้าปลีกขึ้น
4.การวางระบบการประสานงานในแต่ละประเภทธุรกิจที่ต้องเกี่ยวเนื่องกันในวงจร ตั้งแต่ผู้ผลิต จัดส่ง จนถึงการจัดจำหน่าย เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ลดต้นทุนและ สร้างรูปแบบการค้าในแบบใหม่
จะเห็นได้ว่า เป้าหมายของโครงการ ไม่ได้มุ่งเพียงการจัดการกับค้าปลีกข้ามชาติแต่เน้นการพัฒนาและสร้างเครือข่ายที่เกิดประโยชน์ให้กับทั้งธุรกิจโดยรวม เป็นไปได้ที่ว่า สภาพการแข่งขันระหว่างธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติกับค้าปลีกของสิงคโปร์เองไม่เสียเปรียบหรือแตกต่างกัน
ดัชนีวัดค่าความสำเร็จ
การวัดผลประกอบการทางหนึ่งของธุรกิจค้าปลีกของประเทศนี้ก็คือ การดูจากผลประกอบการต่อพนักงานหนึ่งคน หรือ ยอดประกอบการต่อหัวนั่นเอง ปี 1998 ดัชนียอดประกอบการ ลดลงเหลือ 650,000 บาทต่อคน/ปี เปรียบเทียบจากปี 1996 ที่มียอดดัชนีอยู่ที่ 700,000 บาทต่อคน /ปี การขยับตัวลดลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายกังวล เพื่อแก้ปัญหารัฐบาลจึงรวมทีมงานกว่า 60 คนที่มาจากหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผน โดยวางเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพดัชนีค้าปลีก เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านบาท ต่อคน / ต่อปี ในปี 2010 การผลักดันผู้ค้าปลีกไม่เพียงแต่เสริมในองค์ประกอบการจัดการเท่านั้น ยังมุ่งสร้างพื้นฐานรองรับเทคโนโลยีด้าน Internet สร้างรูปแบบการค้าแบบ e commerce โดยวางหน่วยงานเอกชนเข้ามาเป็นผู้พัฒนา
นอกจากนั้นได้วางแผนให้สามารถสร้างธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางให้มียอดประกอบการ 250 ล้านบาทต่อปี จาก ที่มี 2,000 รายเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ราย และเพิ่มปริมาณการค้าอีเลคโทรนิค เพิ่มขึ้น จาก 8,000 รายเป็น 32,000 ราย
แนวคิดยุทธ์ศาสตร์ 4 ประการ
แนวคิดหลักของแผนงานคือ “ Retail for a better tomorrow “ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของการค้าปลีกที่จะเป็นอนาคตของชาติ สิงคโปร์วางตำแหน่งของค้าปลีกของตนให้เป็นอันดับหนึ่ง โดยประกอบแนวความคิดของแผนหลักไว้ 4 แนวทาง คือ
อันดับแรกคือการสร้างให้ผู้ค้าปลีกนำความคิดใหม่ในการบริหารงานมาใช้ในองค์กร มีการนำวิทยาการมาใช้ และสร้างแนวคิดทางธุรกิจให้ชัดเจน ( re-invent the retail sector ) เท่ากับเป็นการยกเครื่องให้กับร้านค้าใหม่ มีเครื่องมือที่ใช้การบริหารหรือสร้างการบริการให้ดีขึ้นก็ผลักดันให้ร้านค้าร้านขายนำเข้ามาใช้โดยรัฐเป็นส่วนสนับสนุน แนวทางที่2 คือ การยกระดับของผู้ประกอบการค้าปลีก การส่งเสริมให้รางวัลบุคคลในธุรกิจทุกด้าน (raise Retailing standard )เป็นการให้กำลังใจและเสริมสร้างบุคลากรใหม่ๆให้สนใจเข้ามาทำธุรกิจเพิ่มขึ้น สร้างขวัญกำลังใจในการทำงานให้กับคนในวงการ แนวที่ 3 ต่อมาคือ การเพิ่มแนวทางที่ขยายประสิทธิภาพของธุรกิจ เช่นการสร้างการประสานงานของวงจรธุรกิจตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงจุดขาย ทำให้ลดต้นทุนการจัดส่งจัดเก็บ หรือการผลิตสินค้าที่ขายไม่ได้ทำให้ต้นทุนโดยรวมและการร่วมมือธุรกิจมีมากขึ้น และ ลำดับที่ 4 เป็นแนวทางสุดท้ายคือ พัฒนาร้านค้าปลีกในเขตพื้นที่อาศัยให้ปรับปรุงหรือเปลี่ยนประเภทธุรกิจให้เหมาะสมมากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการใช้พื้นที่ในเขตกลางเมือง (HDB sub sector ) ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำเลให้ดีขึ้น
การยกระดับพร้อมกันในหลายด้านทำให้ภาพของการปรับปรุงธุรกิจสิงคโปร์ เคลื่อนตัว การปรับพื้นที่ กระจายความเจริญ นำเทคโนโลยีมาใช้ พร้อมกับการมุ่งสร้างขวัญกำลังใจ ผลักดันด้วยงบประมาณของรัฐที่ใช้ไปในเรื่องที่เหมาะสม ยืมมือเอกชนปฏิบัติ รัฐคอยประเมินผลสนับสนุน อยากมีเรื่องแบบนี้เกิดในบ้านเราบ้างจังจะเป็นไปได้ไหมเนี่ย.
http://www.peerapong.com/franchise/franchise-international/47-franchise-singapore/158--10--3-
ยุทธศาสตร์ทหาร หรือ Strategy ทางทหารประกอบไปด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ด้วยกัน ได้แก่ : การเตรียมกำลัง การวางกำลัง การใช้กำลัง และการประสานการปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้จะเป็นไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชาติตามที่ได้รับการชี้แนะจาก Grand Strategy ในกรณีนี้ การกำหนดยุทธศาสตร์ทหาร จะกล่าวถึงทั้ง 4 ตัวนี้อย่างกว้าง ๆ การถกเถียงใด ๆ เกี่ยวกับ Strategy ทางทหารควรจะเริ่มต้นจากแนวความคิดด้านการใช้กำลัง เพราะแผนการที่เราวางไว้ว่าจะใช้กำลังทหารอย่างไรนั้น ควรเป็นตัวพิจารณาว่าเราจะเตรียมกำลังทหารขนาดไหน จะวางกำลังที่ไหน และการประสานการปฏิบัติที่ต้องการนั้น ควรเป็นอย่างไร (http://th.wikipedia.org/wiki/)
ส่วนคำว่า กลยุทธ์ นั้น นอกจากจะมีความหมาย ตามที่กล่าวข้างต้น แล้วมักจะใช้แวดวงธุรกิจ มากกว่า รวมทั้งมีคำว่า นโยบาย (Policy) ซึ่งเป็นตัวที่แปลงหรือย่อยจากกลยุทธ์ลงมาอีกที (จากตำราการจัดการ นโยบายอยู่ในกลุ่มเดียวกับ Procedure หรือแนวทาง และกฎ หรือ Rules) (พสุ เดชะรินทร์, 2548)
1.4. การจัดการ และ การบริหาร
คำว่า การจัดการ และ บริหาร เป็นศัพท์ อีกคู่หนึ่ง ที่บางครั้งใช้ คำว่า “การจัดการ” บางครั้ง ใช้คำว่า “การบริหาร”
จาก http://www.geocities.com/teacher_jrp/s_organi.htm, ได้ระบุว่า การบริหาร จะมีมุมมอง ที่กว้างกว่าการจัดการ โดยการบริหาร (Administrator) เป็นกล่าวถึง เรื่องการกำหนดนโยบาย และใช้กับระบบราชการ เป็นส่วนใหญ่ ส่วน การจัดการ หรือ Management เป็นเรื่องของการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ ส่วนใหญ่ใช้ในภาคเอกชน ดังรูปดังนี้
ที่มา: http://www.geocities.com/teacher_jrp/s_organi.htm
การจัดการเป็นสิ่งสำคัญซึ่งโดยเฉพาะในทางธุรกิจ และมีการเปลี่ยนแปลงภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และมีสาเหตุอื่น ๆ อีก ในปัจจุบันได้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ในสมัยก่อนมนุษย์มีวิธีคิดแบบวนเวียน หรือแบบวงกลม ในสมัยใหม่มนุษย์คิดแบบเพิ่มพูนตลอดเวลา หรือแบบก้าวหน้า (Progress) หรือแนวคิดใหม่ของเอ็ดเวิร์ด เดอไบโน (Edward De Bone) สนับสนุนแนวคิดใหม่ที่สร้างสรรค์ คือไม่วิพากษ์วิจารณ์บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งแบบเผชิญหน้า แต่ควรที่จะเปลี่ยนมาร่วมกันคิดเพื่อหาแนวทางที่จะสามารถแก้ไขปัญหาและความก้าวหน้าต่อไป รวมทั้งเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าอย่างมาก และสภาวะความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ผู้บริหารต้องปรับใช้วิธีการจัดการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและองค์กรสามารถอยู่ได้
ในแนวคิดด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น จะมีความแตกต่างไปจากการจัดการโดยทั่วไป ซึ่งมักจะศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร ตามกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆและเน้นหนักไปที่การจัดการและการบริหารภายในองค์การ แต่การจัดการเชิงกลยุทธ์จะให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกองค์การ หรือสภาวะแวดล้อมภายนอกด้านต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน คำนึงถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว และสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม
อีกทั้ง การจัดการกลยุทธ์ยังคำนึงถึงความความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ (Stakeholders) และการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงประสานหน่วยต่าง ๆ ในองค์การให้สามารถบริหารจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การร่วมกัน
การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นการบริหาร ที่คำนึงถึง
1. ลักษณะการดำเนินงานขององค์การ
2. ลักษณะธุรกิจในอนาคต
3. สภาพแวดล้อม
4. การจัดสรรทรัพยากร
5. การปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
6. การคำนึงถึงความความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ (Stakeholders)
สรุปได้ว่า “การจัดการเชิงกลยุทธ์” เป็นส่วนหนึ่งของการ “จัดการ” กล่าวคือ เป็นการจัดการด้วยการใช้กลวิธี ที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้นำ รองรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ ด้วยการวางแผนอย่างมีขั้นตอน เพราะ การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นการจัดการแบบ องค์รวม”
1.5. ความสำคัญ ของ การจัดการเชิงกลยุทธ์
ก่อน ที่จะกล่าวถึง รายละเอียด ความสำคัญ หรือ ประโยชน์ ของการจัดการเชิง กลยุทธ์ จะขอกล่าวถึง การวิจัยในอดีต ที่ได้มีการทำการศึกษา ที่ได้ ทำวิจัย ถึงการที่บริษัทต่างๆ ได้ นำเรื่องการบริหารกลยุทธ์ ไปใช้ และ เมื่อใช้แล้ว ได้ ผล เป็นอย่างไร
การวิจัย กับ แนวคิดเรื่องการบริหารกลยุทธ์
แนวคิดและ เทคนิค เรื่องการบริหารกลยุทธ์ ได้ถูกพัฒนา ขึ้นมาจากหลาบริษัทเช่น GE (General Electric) และ กลุ่มที่ปรึกษาบอสตัน (BOG)ตามผลการศึกษาของ บูรซ์ เฮ็นเดอร์สัน จาก Boston Consulting Group (อ้างถึง สมยศ นาวีการ, 2538) สรุปได้ว่า กลยุทธ์ ตาม สัญชาตญาณ ไม่สามรถ บรรลุวัตถุประสงค์ ความสำเร็จ ได้อีกต่อไป ถ้า
1. บริษัท หรือ องค์การนั้น มีขนาดใหญ่ขึ้น
2. บริษัท หรือ องค์การนั้น มี ระดับการบริหารเพิ่มขึ้น
3. บริษัท หรือ องค์การนั้น มี สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง มากขึ้น
ส่วนงาน วิจัย ของ กลูเอ็ด คอฟเมน และ วอล์เล็ค (อ้างถึง สมยศ นาวีการ, 2538) มีผลการวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า การวางแผน กลยุทธ์ จะมี วิวัฒนาการ ออกเป็น 4 ระยะ
1. การวางแผนการเงิน เบื้องต้น: การควบคุม มากขึ้น ด้วยการใช้งบ ประมาณ
2. การวางแผน โดยการพยากรณ์ : การวางแผน เพื่อการเจริญ เติบโต อย่างมีประสิทธิภาพมาก ด้วยการคาดคะเน เลยไปข้างหน้า
3. การวางแผน ที่มุ่งภายนอก การตอบสนอง ต่อตลาด และ การแข่งขัน อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้นด้วยการใช้ความคิดเชิงกลยุทธ์
4. การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารทรัพยากร ทุกอย่างเพื่อการสร้างข้อได้เปรียบ ทางการแข่งขัน และสร้างอนาคต
จากงานวิจัยของ โทมัส เจ. ปีเตอร์ และ โรเบิร์ต เอช. วอเตอร์แมน ในหนังสือ In Search of Excellence ได้ดำเนินการวิจัย บริษัทอเมริกันดีเด่น 62 บริษัท (อ้างถึง สมยศ นาวีการ, 2538) ที่มีชื่อว่า เป็นบริษัท ที่คิดค้นสิ่งใหม่ และมีความเป็นเลิศ รายละเอียดดังต่อไปนี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า มีบริษัทใด เป็นเลิศในด้านใดบ้าง
· บริษัทเทคโนโลยี่ชั้นสูง (แอมเดลห์ อีเมอร์สัน อีเล็คทริด และชลัมเบอร์เกอร์)
· บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค (พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเปิ้ล)
· บริษัท บริการ ( แมคโดนัลด์, โรงแรมแมริออตต์, และ วอลมาร์ท)
· บริษัททรัพยากร (ดาวเคมีคอล, เอ็กซ์ซอน, และ สแตนดาร์ด ออย์)
· บริษัทสินค้าอุตสาหกรรมทั่วไป (3 เอ็ม)
โดย ปีเตอร์ และ วอเตอร์แมน ได้ค้นพบว่า บริษัทที่เป็นเลิศเหล่านี้ ต้องมุ่งกระทำ 8 อย่าง
1. การมุ่งกระทำ
2. การอยู่ใกล้ชิดลูกค้า
3. การสร้างความเป็นอิสระในการประกอบการ
4. การเพิ่มประสิทธิภาพโดยการใช้คน
5. การสัมผัสและปลูกฝั่งค่านิยม
6. การดำเนินธุรกิจที่เชี่ยวชาญ
7. โครงสร้างเรียบง่าย และ พนักงานอำนวยการน้อย
8. การเข้มงวดและผ่อนปรนในขณะเดียวกัน
จากคุณสมบัติ ที่สร้างความเป็นเลิศ8 อย่าง ปีเตอร์ และ วอเตอร์แมน พบว่า จะต้องมีความเป็นแกนหลัก 4 ประการ

แกนคุณสมบัติหลัก 4 ประการ ของ บริษัท ดีเด่น
1. การบริหารเพื่ออนาคต- ต้อง มีการคิดค้น ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
2. การวางแผนกลยุทธ์ – บริษัท ดีเด่น จะต้อง กำหนด กลยุทธ์ การแข่งขันขึ้นมา เพื่อสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขัน
3. การสร้าง วัฒนธรรม องค์กร – ต้อง มีการสร้าง ความผูกผัน และ ค่านิยม ของบริษัท ให้ พนักงานรู้สึก ความเป็นอิสระ และ มีความเป็นเจ้าของ รวมทั้ง มีการบริหาร ความคิด สร้างสรรค์
4. การสร้างความคล่องตัว : บริษัทดีเด่น จะต้อง ตอบ สนอง ต่อการเปลี่ยนสภาพ แวดล้อม ภายใน และ ภายนอก ได้อย่างดีที่สุด แม้ว่าการเปลี่ยนแปลง ต้อง ทำให้เกิดการวางแผนกลยุทธ์ใหม่
นอกจากนี้ยัง มีงานวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างที่มียอดขาย ตั้งแต่ 1 พันล้านเหรียญ$ - 17พันล้านเหรียญ$ เพื่อศึกษาว่า “บริษัท ที่มีการวางแผนกลยุทธ์ จะมีผลการดำเนินงาน เด่น กว่า บริษัท ที่ไม่มีการวางแผนกลยุทธ์ หรือไม่?” ผลจากการวิจัยพบ บริษัท ที่มีการ วางแผนกลยุทธ์ จะมีผลดีต่อบริษัท คือ
· จะช่วยบริษัทคัดเลือกธุรกิจ ของพวกเค้า เป็น “ ผู้ชนะ และ ผู้แพ้” คือทำให้บริษัททราบว่า บริษัทอยู่ตรง ตำแหน่งไหน ของธุรกิจ
· จะช่วยให้บริษัท เห็นข้อปัญหา ซึ่งจะทำให้ ทราบแนวทางการตัดสินใจที่สำคัญ และ มุ่งความสนใจเพื่อแก้ปัญหานั้นได้
· การศึกษาสรุปได้ว่า การวางแผนกลยุทธ์ จะช่วยให้ปรับปรุง ฐานะ การแข่งขัน และ กำไร ในระยะยาว ของบริษัท ให้สูงขึ้น บริษัท จะมีผลกำไร ต่อหุ้น สูงขึ้นด้วย
· ผู้บริหารระดับสูง มีแนวคิด และใฝ่ใจ ที่จะนำแนวคิดเรื่อง การจัดการเชิงกลยุทธ์ มาใช้ในองค์การมากขึ้น
· ตัวอย่างเช่น บริษัท ฮิวเลตต์ – แพคการ์ด ได้ถูกจัดลำดับ ว่าเป็นบริษัท ประสบความสำเร็จ 1-5 ของโลก ด้าน ความสามรถ รักษา พนักงาน ไว้ กับตน, การบริหาร ที่มีประสิทธิภาพ , การพัฒนาการคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า และ การสร้าง ความได้เปรียบ ทางการแข่งขัน
Ø ดังนั้น เพื่อให้เห็นถึง ความสำคัญ ของ “จัดการเชิงกลยุทธ์” ว่ามีผลต่อการบริหารจัดการ ในบริษัท อย่างไร มากขึ้น จึงใคร่ขอนำข้อมูล ของ บริษัทฮิวเลตต์ – แพคการ์ด มาเสนอ พร้อมทั้ง ทำความรู้จักว่า แผนกลยุทธ์ อะไร คือ จุดเด่น ของ บริษัท และ แผนกลยุทธ์ นั้นเกิดได้อย่างไร และ นำมาปฏิบัติ ใช้จริง ได้อย่างไร เป็นแนวสังเขป ดังนี้
ข้อมูลเกี่ยวกับ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี)
บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (อังกฤษ: Hewlett-Packard Company) หรือตัวย่อ เอชพี (HP) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2482 ( 70 ปี มาแล้ว) โดย มร.บิล ฮิวเลตต์ และมร.เดวิด แพคการ์ด ซึ่งผู้ก่อตั้งทั้งสอง เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ริเริ่มสร้างสรรค์เครื่องกำเนิดคลื่นเสียง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกของบริษัทฯ ภายในโรงรถในเมืองพาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเงินลงทุนครั้งแรก 500 ดอลลาร์
บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (อังกฤษ: Hewlett-Packard Company) หรือตัวย่อ เอชพี (HP) เป็นหนึ่งในบริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขนาดใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองพาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ การจัดการภาพดิจิทัล
เอชพีเป็นผู้คิดค้นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นรายแรกของโลกใน ค.ศ. 1968 หรือ พ.ศ. 2511 (เมื่อ 41 ปี ที่แล้ว) ในชื่อ Hewlett-Packard 9100A แต่เรียก

Hewlett-Packard 9100A
ผลิตภัณฑ์ของตนว่าเครื่องคิดเลขตั้งโต๊ะ (desktop calculator) ด้วยเหตุผลทางการตลาด เพราะคอมพิวเตอร์ของเอชพีนั้นไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มที่แพร่หลายในขณะนั้น หลังจากนั้นเอชพีได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญหลายอย่าง ที่สำคัญคือเครื่องคิดเลขพกพาที่ใช้โปรแกรมได้
เอชพีถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของการก่อตั้งซิลิคอนวัลเลย์ สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญของเอชพีในยุคหลังคือ พรินเตอร์อิงค์เจ็ต เลเซอร์พรินเตอร์ รวมถึงสแกนเนอร์ เมื่อ ค.ศ. 1984 พ.ศ. 2527 (เมื่อ 25 ปี ที่แล้ว) ส่วนยุค 90 นั้นเอชพีขยายตลาดมาด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น เหตุการณ์ที่สำคัญคือการเข้าซื้อกิจการของคอมแพค ในปี ค.ศ. 2002
บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี) มุ่งมั่นสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ใช้งานง่าย สำหรับลูกค้าในทุกระดับ นับตั้งแต่ผู้บริโภคระดับคอนซูเมอร์ไปจนถึงองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ และลูกค้ากลุ่มราชการ ด้วยสายผลิตภัณฑ์ซึ่งครอบคลุมถึงด้านโซลูชั่นภาพและการพิมพ์ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซอฟต์แวร์ บริการ และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ให้แก่ลูกค้าในทุกระดับเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่หลากหลายทำให้เอชพี เป็นหนึ่งในบริษัทด้านไอทีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2551 เอชพีมีรายได้รวมสำหรับปีงบประมาณ 2550 ทั้งสิ้น 118.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
บริษัท ฮิวเลตต์‑แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 ( 20 มาแล้ว) ปัจจุบัน สำนักงานตั้งอยู่ ณ ชั้น 2-3 อาคารอื้อ จือ เหลียง ถนนพระราม 4 โดยมีทีมงานกว่า 1000 คน
การบริหารการจัดการทั่วไป นอกจากนั้น สำนักงานใหญ่เอชพี ประเทศไทย ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์การให้บริการหลังการขาย ศูนย์การฝึกอบรมและสาธิตผลิตภัณฑ์ และที่สำคัญ เอชพี ประเทศไทย ยังเป็นแหล่งสรรหาส่วนประกอบอิเลคทรอนิกส์เพื่อส่งไปยังหน่วยผลิตของ เอชพีในที่ต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย นอกจากสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ แล้ว เอชพียังมีศูนย์บริการอีก 22 ศูนย์ในจังหวัดใหญ่ๆ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย
วิเคราะห์ กลยุทธ์ ที่HP ใช้
จุดเด่น เริ่ม ต้น ของ เอชพี – คือตัวผลิตภัณฑ์ ที่มีเทคโลยี่ เพื่อตอบ สนอง ความต้องการของ ผู้บริโภค ทุก ระดับ
ใช้ กลยุทธ์นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ ใหม่ และ กลยุทธ์ ที่ใช้ ทางการเงิน
กลยุทธ์ นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ ใหม่ บริษัทใช้เงินลงทุนในด้านการค้นคว้าและพัฒนาถึง 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เพื่อการคิดค้นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อที่จะสนองตอบความต้องการของลูกค้า ตลอดจนการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ได้ดีขึ้น ช่วยให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจ สร้างคุณค่าให้กับสังคม ตลอดจนช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิต
กลยุทธ์ ที่ใช้ ทางการเงิน: เอชพี ได้ดำเนินการเข้าซื้อกิจการของบริษัท อิเล็กทรอนิก ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์เปอเรชั่น (อีดีเอส) (Electronic Data Systems Corporation (EDS)) ส่งผลให้เอชพี มีฟอร์ทโฟลิโอ ของผลิตภัณฑ์ บริการ ที่มีความครอบคลุมมากที่สุดรายหนึ่งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ทั้งนี้ ชุดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรวมกิจการของทั้งสองบริษัทจะมุ่งเน้นในการช่วยให้ธุรกิจของลูกค้าเติบโตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยลดความเสี่ยง และลดค่าใช้จ่ายต่างๆ
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.thaipr.net/keywordnews.aspx?keyword
http://www.digitalthai.net

ความสำคัญการจัดการเชิงกลยุทธ์
จากผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้น พอสรุปได้ว่า ความสำคัญการจัดการเชิงกลยุทธ์ มีผลต่อการดำเนินงานขององค์กรดังนี้
1) ช่วยให้ผู้บริหารสามารถสำรวจและประเมินปัญหา ความสามารถพื้นฐานขององค์การ การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบของสถานการณ์ที่มีต่อธุรกิจ
2) ผลลัพธ์จากกระบวนการจัดการกลยุทธ์ จะกำหนดเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนสำหรับพนักงาน ทำให้องค์กรสามารถดำเนินงานมุ่งสู่เป้าหมายและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้โดยไม่หลงทาง
3) ช่วยปรับปรุงและสนับสนุนทำให้เกิดการประสานงานระหว่างกิจกรรมและจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในทุกระดับขององค์กร
4) ช่วยให้ผู้บริหารมีเป้าหมายและทราบถึงทิศทางในการบริหารงาน ทำให้มีความมุ่งมั่น และการปรับตัวให้สอดคล้องกับปัญหาอย่างยืดหยุ่นและเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น