วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ส่วนที่ 2 (ต่อ)

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (External Analysis)ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน
สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) สามารถส่งผลกระทบต่อองค์การได้ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ก็จะส่งผลดีต่อโอกาสในการดำเนินงานขององค์การ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน ที่ดิน หรือ ค่าดอกเบี้ย ในการซื้อ ทรัพย์สิน เป็นต้น หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัยอย่างรวดเร็ว เช่น การสร้างบ้านสมัยใหม่ มี ผนังสำเร็จรูป ทำให้ประหยัดเวลา คำถาม คือ ผู้รับเหมา ขนาดกลาง และ ขนาดย่อม จะแช่งขัน อย่างไร? เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมทั่วไป เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญ แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การโดยตรงแต่เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป มีตัวแบบในการพิจารณา คือ PEST Environment
PEST Environment ได้แก่
สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political Environment –P) สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economic Environment –E) สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Sociological Environment –S) สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Environment –T)
§ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน (Task Environment) ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ (Michael E.Poter ) ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน โดยใช้ตัวแบบที่ชื่อ The Five Competitive Force ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงสมรรถภาพคู่แข่งที่เข้ามาใหม่ ทราบความต้องการของลูกค้า สามารถสร้างความร่วมมือกับผู้จัดส่งวัตถุดิบ การระมัดระวังไม่ให้ลูกค้าหันไปให้ความสนใจสินค้าทดแทน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นตัวแบบที่ช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่งได้เป็นอย่างดี
3.แบบจำลองแรงผลักทั้ง 5 The Five Competitive Force
แบบจำลองแรงผลักทั้ง 5 คือ แบบจำลองที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันที่เกิดจากแรงทั้ง 5 ผู้ค้นคิดแบบจำลองหรือเครื่องมือดังกล่าวคือ Michael E. Porter ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวางกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของ Harvard Business School
Porter ได้กล่าวไว้ว่า สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมใด ๆ ก็ตามแต่จะถูกกำหนดด้วยแรงผลักทั้ง 5 ได้แก่
คู่แข่งขันรายใหม่

คู่แข่งปัจจุบัน
สินค้าทดแทน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
· รัฐบาล
· ชุมชน
อำนาจต่อรองของลูกค้า
อำนาจต่อรองของ ซัพพลายเออร์









ภาพ แบบจำลองแรงผลักทั้ง 5 ที่มา: Michael E. Porter
1. แรงผลักจากการแข่งขันของคู่แข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบันของอุตสาหกรรมธุรกิจการเกษตร หรือการแข่งขันที่มีอยู่เดิม (Intensity of Rivalry among Existing Competitor)
พิจารณาจากจำนวนคู่แข่งขัน การพัฒนาเทคโนโลยีของคู่แข่งขันและอัตราการเติบโตของตลาด ถ้าอุตสาหกรรมยังเติบโตสูงการแข่งขันก็จะไม่รุนแรง นอกจากนี้อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากจะมีต้นทุนคงที่สูง ซึ่งจำเป็นต้องผลิตสินค้าจำนวนมากเพื่อให้มีต้นทุนคงที่ต่อหน่วยต่ำลง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้มีอุปทานของสินค้าออกมามากและเกิดการแข่งขันที่รุนแรงตามมาได้ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 8 ประการ
การวิเคราะห์ การแข่งขันที่มีอยู่เดิม จากปัจจัย 8 ประการ
1) จำนวนคู่แข่งที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน (Numerous or Equally Balanced Competitors) กล่าวคือถ้าหากไม่มีผู้นำการตลาดอยู่การแข่งขันก็จะสูง เพราะแต่ละรายมีศักยภาพใกล้เคียงกัน
2) อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมนั้นๆ เริ่มหดตัว (Slow Industry Growth) กล่าวคือ ขนาดตลาดลดขนาดลง ทำให้เกิดการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้น
3) การเพิ่มกำลังการผลิตที่สูงมากเกินไป (High Fixed of Storage Costs) ของธุรกิจในอุตสาหกรรมอาจจะนำไปสู่สงครามการตัดราคาได้
4) การที่สินค้าและบริการของอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่มีความแตกต่าง (Lack of Differentiation of Switch Costs) ดังนั้นจึงทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยปัจจัยในเรื่องราคาและบริการ
5) การเพิ่มกำลังผลิตมากจนเกินไป (Capacity Augmented in Large Increment) ทำให้เกิดภาวการณ์ล้นตลาดของสินค้าในอุตสาหกรรมนั้น นำไปสู่สภาวะการตัดราคา
6) คู่แข่งบางรายในอุตสาหกรรมนั้นปรับเปลี่ยนนโยบายในการแข่งขันบ่อยครั้ง (Diverse Competitors) ส่งผลให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ยากแก่การคาดการณ์ และกำหนดกลยุทธ์
7) มีธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จหลายบริษัท (High Strategic Stakes) เข้าสู่อุตสาหกรรมนั้น
8) ความยากลำบากในการถอนตัวจากอุตสาหกรรมนั้น (High Exit Barriers) เช่น ได้ลงทุนไปเป็นเงินจำนวนมหาศาลถ้าถอนตัวจะไม่คุ้มค่าจึงทำให้ธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้นจำเป็นต้องต่อสู่เพื่อความอยู่รอดซึ่งส่งผลให้การแข่งขันรุนแรง
2. แรงจากการคุกคามของคู่แข่งขันรายใหม่ หรืออุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรม (Barriers to entry)
ถ้าคู่แข่งขันเข้ามาสู่อุตสาหกรรมได้ง่าย การแข่งขันในอุตสาหกรรมก็จะรุนแรง เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจในอนาคต สิ่งกีดกันดังประกอบไปด้วย 7 ประการ สิ่งกีดกันคู่แข่งขันรายใหม่ 7 ประการประกอบไปด้วย ดังนี้
1) การประหยัดจากปริมาณ (Economic of Scales) เช่น การประหยัดจากการซื้อวัตถุดิบที่มีปริมาณ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ ในการผลิตในปริมาณมาก จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง ดังนั้น ผู้ประกอบการที่มีการประหยัดจากปริมาณสูง ย่อมได้เปรียบผู้ประกอบการที่มีการประหยัดจากปริมาณต่ำ
2) ความแตกต่างของสินค้า (Product Differentiation) จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างตราสินค้าได้แข็งแกร่ง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการสู่ธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมนั้นๆ สำหรับผู้ประกอบที่มีสินค้า และบริการที่ไม่มีความแตกต่าง หรือมีความแตกต่าง หรือโดดเด่นน้อยกว่า
3) จำนวนเงินทุนที่ใช้ในการลงทุน ในธุรกิจหนึ่ง (Capital Requirement) ถ้าหากต้องใช้เงินทุนสูง ก็จะทำให้ยากที่เข้าสู่ธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ
4) ต้นทุนในการเปลี่ยนการใช้สินค้า (Switching Costs) ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ต้นทุนตัวนี้ จะมากหรือน้อยขึ้นกับความภักดีที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีต่อตราสินค้าหนึ่ง ๆ ซึ่งสืบเนื่องมาจากความแตกต่างของสินค้าแต่ละชนิด
5) การมีจุดกระจายที่สินค้าที่ดี (Access to Distribution Channels) ที่กระจายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึง ผู้ประกอบการรายใดที่ขาด หรือมีจุดกระจายสินค้าที่ด้อยกว่าคู่แข่งก็ทำให้เกิดการเสียเปรียบในการแข่งขัน
6) การที่ผู้ประกอบการที่เข้ามาในอุตสาหกรรมก่อน (Cost Disadvantages Independent of Scale) ได้มีการพัฒนาในเรื่องการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการลดต้นทุน และประสบการณ์จากการเรียนรู้ข้อผิดพลาดต่างๆ (Learning Curve) จะช่วยให้ผู้ประกอบการที่เข้ามาก่อนได้เปรียบเหนือกว่าผู้ประกอบที่คิดจะเข้าสู่อุตสาหกรรม
7) นโยบายของรัฐ (Government Policy) มีการควบคุม หรือเกื้อกูลต่อผู้ประกอบการ เช่น อาจจะมีการให้สัมปทาน เป็นต้น
3. แรงจากการคุกคามของสินค้าทดแทน Pressure from Substitute หรือ สินค้าชนิดใหม่ที่จะมีทดแทนสินค้าชนิดเดิมที่มีอยู่
ทำให้อุตสาหกรรมนั้นมีแนวโน้มที่จะมีแข่งขันที่สูงมากขึ้น ถ้าผลิตภัณฑ์ของเรานอกจากจะต้องแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันจากคู่แข่งขันแล้ว ยังมีสินค้าทดแทนที่เข้ามาแข่งขันด้วย การแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าราคาสินค้าทดแทนถูกกว่าสินค้าของเรา ปัจจัยที่จะช่วยลดการคุกคามจากสินค้าทดแทน คือต้องพยายามสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์รักษาคุณภาพ เพิ่มคุณค่าในตัวสินค้าและสร้างภาพพจน์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแรงจากการคุกคามของสินค้าทดแทนนั้น อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิตไม่มีอำนาจในการต่อรองมากนัก เนื่องจากสินค้าประเภทนี้จะมีสินค้าจำนวนมากมายและหลากหลายประเภท เช่น เนื้อวัว สามารถทดแทนได้เกือบสมบูรณ์จากสินค้าเนื้อไก่ ทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่า ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลข่าวสารให้ได้เห็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ในบางรูปแบบ เช่น การทำสเต็กที่หอมอร่อยเนื้อวัวจะทำให้สเต็กนั้นมีความพิเศษมากว่าเนื้อประเภทอื่นและจะเป็นอาหารจานพิเศษที่มีราคาสูงสำหรับแขกคนพิเศษเท่านั้น เป็นต้น หรือจุดแข็งที่เนื้อไก่แสดงให้เห็นว่ามีคลอเรสตรอลอร์น้อยกว่าเนื้อหมูและเนื้อวัว เพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มที่รักษาสุขภาพ เป็นต้น
นอกจากคุณสมบัติของตัวผลิตภัณฑ์ จะมีบทบาทในเรื่องการแข่งขันแล้ว ผู้บริหารผลิตภัณฑ์จะมีอิทธิพลเสริมต่อแรงจากการคุกคามของสินค้าทดแทนการแข่งขันด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น Wal-mart จะมีสินค้าเหมือนหรือคล้ายคลึงกับร้านค้าอื่นๆ แต่ Wal-mart มีวิธีการบริหารจัดการ ที่แตกต่างจากร้านค้าอื่น ๆ จึงทำให้ Wal-mart สามารถสร้างความแตกต่าง และขจัดคู่แข่งร้านค้าอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกับ Wal-mart ได้อย่างห่างไกลจาก “อุปสรรคจากผลิตภัณฑ์ที่ทดแทน” ได้อย่างน่าสนใจ

4. แรงจากอำนาจต่อรองของลูกค้า (Bargaining Power of Buyers)
แรงจากอำนาจต่อรองของลูกค้า หรืออำนาจในการต่อรองให้สินค้ามีราคาต่ำลง แต่ต้องการคุณภาพที่ดีขึ้นหรือบริการที่ดีขึ้น ถ้าลูกค้ามีอำนาจต่อรองมากในอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดภาวการณ์แข่งขันรุนแรง เพราะอำนาจการต่อรองที่มากนี้ทำให้ลูกค้าสามารถต่อรองราคา และสามารถเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งได้ การตรวจสอบปัจจัยที่จะทำให้ผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองมากอาจพิจารณาได้จาก
1) การที่ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณมาก
2) กลุ่มลูกค้ามีการรวมตัวกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง
3) ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายของผู้ขายแต่ละรายไม่มีความแตกต่าง
4) ลูกค้ามีข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของผู้ขายแต่ละราย
ลูกค้าจะมีอำนาจการต่อรองสูง เช่น จะซื้อผลิตภัณฑ์จากคู่แข่งไหนหรือประเทศไหนก็ได้ ได้แก่ สินค้าเนื้อไก่ที่ไทยและบราซิลต่างส่งออกไปยุโรป ผู้บริโภคยุโรปสามรถเลือกผลิตภัณฑ์จากบราซิลหรือจากของไทยได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่ว่าผู้ผลิตไทยจะทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดความแตกต่างและสามารถสร้างอำนาจต่อรองกับลูกค้าได้
นอกจากนี้เพื่อให้เห็นความหมายของแรงจากอำนาจต่อรองของลูกค้าชัดเจนขึ้น จึงนำความหมายของคำว่าตลาด หรือกลุ่มผู้ซื้อ/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มาแสดงดังนี้
ตลาด หรือกลุ่มผู้ซื้อ/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (พิภพ อุดร, 2543) ผู้บริหารต้องรู้จักผู้ซื้อหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของกิจการอย่างลึกซึ้งและเป็นระบบ โดยทั่วไปแล้วกลุ่มผู้ซื้อหรือกลุ่มเป้าหมายอาจแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือผู้ซื้อที่เป็นผู้บริโภคทั่วไป และผู้ซื้อที่เป็นองค์กร ซึ่งกระบวนการในการทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย ควรเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ตลาดในภาพรวม โดยที่ขั้นตอนแรก คือการแบ่งตลาดออกเป็นส่วน ๆ ทั้งนี้โดยพยายามให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีพฤติกรรม และการตอบสนองต่อกระบวนการทางการตลาดที่คล้ายคลึงกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่ให้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในระหว่างกลุ่ม กิจการควรเลือกกลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจ โดยพิจารณาจากขนาดของกลุ่ม อัตราการเติบโต กำลังซื้อ ตลอดจนความยากง่ายในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ดังกล่าว ปัจจัยที่นิยมใช้ในการแบ่งส่วนตลาดมี 4 กลุ่มหลัก ๆ คือ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ (เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา) ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ (เช่น เขตที่อยู่อาศัย ภาค ประเทศ) ปัจจัยด้านจิตวิทยา (เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ รูปแบบการดำเนินชีวิต) และปัจจัยด้านพฤติกรรม (เช่น สถานภาพผู้ใช้ ความถี่ในการใช้ ความซื่อสัตย์ต่อตรายี่ห้อ) ตัวอย่างของการแบ่งส่วนตลาดโดยคำนึงถึงสถานภาพผู้ใช้ อาจแบ่งตลาดเป้าหมายออกเป็นกลุ่มหลักๆ ได้ดังต่อไปนี้คือ
1) กลุ่มลูกค้าปัจจุบัน : ได้แก่สมาชิกหรือผู้ซื้อ/ผู้ใช้บริการในปัจจุบัน โดยผู้บริหารควรต้องเข้าใจถึงเหตุผลในการซื้อ เหตุผลที่ไม่ซื้อบริการจากคู่แข่ง ภาพลักษณ์ของกิจการเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ระดับคุณภาพการบริการในสายตาของลูกค้ากลุ่มนี้ ความพึงพอใจต่อแง่มุมต่าง ๆ ตลอดจนความผูกพันที่มีต่อกิจการ
2) กลุ่มลูกค้าของคู่แข่ง : ได้แก่สมาชิก หรือผู้ซื้อ/ผู้ใช้บริการของคู่แข่งในปัจจุบัน โดยผู้บริหารต้องเข้าใจมุมมอง และเหตุผลในการซื้อของผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวว่า เหตุใดกลุ่มนี้จึงสนใจในบริการของคู่แข่งมากกว่าของกิจการ ผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวมีความผูกพันกับบริการของคู่แข่งมากน้อยเพียงใด มีโอกาสในการเปลี่ยนมาใช้บริการของกิจการหรือไม่ ด้วยวิธีการใด
3) กลุ่มอดีตลูกค้า : ได้แก่ผู้ที่เคยเป็นสมาชิก หรือผู้ซื้อ/ผู้ใช้บริการของกิจการ แต่ปัจจุบันหันไปใช้บริการของคู่แข่ง หรือไม่ได้ใช้บริการที่ใดอีกต่อไป ผู้บริหารควรต้องเข้าใจกลุ่มนี้เป็นอย่างดีเช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียลูกค้าให้กับคู่แข่ง หรือบริการทดแทนอื่น ๆ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ฐานลูกค้าของกิจการเล็กลงไปเรื่อย ๆ แม้ว่าจะพยายามสร้างลูกค้าใหม่ให้เพิ่มขึ้นตลอดเวลาก็ตาม
4) กลุ่มลูกค้าที่เป็นไปได้ : ได้แก่ผู้บริโภคที่มีแนวโน้มความต้องการที่จะใช้สินค้าและ บริการของกิจการ หรือของคู่แข่ง แต่ยังไม่เคยเป็นสมาชิกหรือซื้อสินค้า และบริการของกิจการเลย สำหรับกลุ่มนี้ ผู้บริหารควรต้องเข้าใจเหตุผลของการชะลอการตัดสินใจของผู้บริโภคว่าเป็นเพราะเหตุใด เพราะไม่เห็นความจำเป็น หรือเพราะไม่มีเวลา ไม่มีความรู้มากพอจึงไม่กล้าตัดสินใจ เมื่อเข้าใจในเหตุผลดังกล่าวเป็นอย่างดีจึงจะสามารถโน้มน้าว และนำเสนอบริการที่ตรงใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้
5) กลุ่มที่ไม่ใช่ลูกค้าที่เป็นไปได้ : ได้แก่ผู้บริโภคที่ไม่มีความต้องการ หรือโอกาสที่จะใช้สินค้าและบริการด้วยสภาพธรรมชาติของร่างกายหรือสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ผู้ชายโดยทั่วไปมักไม่มีจำเป็นที่จะใช้บริการการตรวจมะเร็งเต้านม เป็นต้น กลุ่มนี้ต่างจากกลุ่มข้างต้นตรงที่เป็นกลุ่มที่ไม่ต้องใช้บริการด้วยเหตุผลตามธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นเพราะไม่เห็นความจำเป็น หากแต่ไม่มีความจำเป็นในการใช้บริการของกิจการ ด้วยเหตุนี้ตลาดเป้าหมายของกิจการบริการจึงมักไม่รวมถึงผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว
5. แรงจากอำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์ (Bargaining Power of Suppliers) หรือ อำนาจต่อรองของผู้ขาย โดยการขึ้นราคาวัตถุดิบ หรือลดคุณภาพของวัตถุดิบ
ซัพพลายเออร์ในที่นี้หมายถึง ผู้ขายวัตถุดิบหรือผู้แทนจำหน่ายในช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของเราก็ได้ ถ้าซัพพลายเออร์มีอำนาจต่อรองมาก เช่น ขึ้นราคาวัตถุดิบหรือกำหนดเงื่อนไขการจำหน่ายสินค้า ลักษณะเช่นนี้ผู้ขายสินค้าจะต้องแข่งขันกันมาก (ประยงค์ มีใจซื่อ, 2542 หน้า 37) ได้สรุปสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอำนาจต่อรองสำหรับ ซัพพลายเออร์มีหลายประการเช่น
1) มีซัพพลายเออร์น้อยราย
2) หาสินค้าทดแทนได้ยากหรือไม่มีสิ่งทดแทน
3) ความสำคัญของสินค้าหรือบริการของซัพพลายเออร์ที่มีต่อผู้ซื้อ
4) ซัพพลายเออร์สร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์สูง
5) การเปลี่ยนซัพพลายเออร์ก่อให้เกิดต้นทุนสูง
นอกจากนี้ (อัจฉรา จันทร์ฉาย, 2549) ยังระบุว่าในการวิเคราะห์ปัจจัย 5 ประการของแบบจำลองแรงผลักทั้ง 5 ให้มีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ควรศึกษาปัจจัยประกอบการแข่งขันของอุสาหกรรมเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่
ข้อมูลคู่แข่งที่ควรทราบ
o มีใครอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับเราบ้าง
o ใครมียอดขาย และส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด
o ใครมีฐานะการเงินและกำไรดีกว่ากัน
o ใครมีกลยุทธ์ทางด้านการตลาดเหนือกว่ากัน
o ใครมีการขยายตัวธุรกิจต่อเนื่องทั้งในแนวดิ่งและแนวนอน
o ใครมีต้นทุนต่ำกว่ากัน
o โครงสร้างขององค์กรและวัฒนธรรมของคู่แข่งขันเป็นอย่างไร
o ใครคือผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่
o ใครมีบุคลากรที่มีคุณภาพ
o ใครมีเทคโนโลยีดีกว่ากัน ขนาดของโรงงาน อายุของเครื่องจักร
o เครือข่ายในธุรกิจต่าง ๆ
o วิสัยทัศน์ในการบริหารงานขององค์กร
o การวิจัยและพัฒนา
o ภาพลักษณ์ขององค์กร
o ศักยภาพของคู่แข่งขันในอนาคต
ข้อมูลอุตสาหกรรมที่ควรทราบ
§ ขนาดของตลาด (Market size)
§ อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม
§ วงจรชีวิตของอุตสาหกรรม
§ จำนวนธุรกิจในอุตสาหกรรม
§ ขอบเขต รูปแบบการแข่งขันในอุตสาหกรรม
§ ความยากง่ายในการทำธุรกิจต่อเนื่อง
§ ความยากง่ายในการเข้าและออกจากอุตสาหกรรม
§ ขนาดของอุตสาหกรรมที่ประหยัด
§ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม
§ กำลังการผลิตรวมในอุตสาหกรรมและอัตราการใช้งาน
§ อัตรากำไรของอุตสาหกรรม
§ ประสบการณ์และการเรียนรู้ในอุตสาหกรรม
§ ชนิด และขนาดลูกค้าในอุตสาหกรรม
§ ลักษณะของสินค้าและบริการในอุตสาหกรรม
ปัจจัยต่างๆ จะถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์ในแบบจำลอง 5 ปัจจัยของ Porter ผลที่ได้นี้จะมีประโยชน์หลายประการ เช่น ทำให้ทราบข้อได้เปรียบเสียเปรียบด้านการแข่งขันของเราเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม ข้อได้เปรียบนี้เราสามารถใช้ระบุเป็นโอกาสของธุรกิจ ส่วนข้อเสียเปรียบควรจะถูกบันทึกไว้เป็นอุปสรรคของธุรกิจในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดกลยุทธ์การแข่งขันในอุตสาหกรรมต่อไป
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีนักวิชาการหลายท่านได้ชี้แจงว่า ทฤษฏีของแบบจำลองแรงผลักทั้ง 5 ของ Porter กำลังล้าสมัย มีแนวความคิดใหม่ในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันเข้ามาแทนที่ เช่น Rubicon, 2007 ได้กล่าวไว้ในงานสัมมนาของ O’Reilly of Emerging Technology ว่าทฤษฏีใหม่เกี่ยวการแข่งขันจะมาจาก “ความคาดหวังของลูกค้า” หรือ consumer expectations ในรูปแบบพลังการแข่งขันทางการตลาด



นอกจากนี้ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ศักยภาพการแข้งขัน 3 เครื่องมือ เพื่อหา กลยุทธื เพื่อนำมาใช้ในการบริหารเชิงกลยุทธ์ ดังกล่าว ข้างต้น แล้วนั้น ยังมีการกล่าวถึง การศึกษาพลังอำนาจทางการตลาดจาก 3 Cs (C. K. Prahalad and Venkat Ramaswamy, 2009) โดยผู้เขียนกล่าวว่าเป็นแบบจำลองใหม่ ที่เรียกว่า“Permeable Corporation”หรือองค์กรธุรกิจที่แทรกซึมได้
“การสร้าง: Creation”การต่อยอดทางความคิด เช่นสินค้าเกษตรพื้นฐานเป็นสินค้าเกษตรแปรรูป
“การบริโภค: Customization”เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกด้วยการสื่อสาร
“การติดต่อสื่อสาร: Communication”การสื่อสารเพื่อให้ผู้บริโภคเห็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์

การของ การวิเคราะห์ และ ประโยชน์ ของ การวิเคราะห์อุตสาหกรรม
วิธี การของ การวิเคราะห์: การวิเคราะห์อุตสาหกรรมเป็นกิจกรรมเบื้องต้นที่กิจการควรกระทำเป็นประจำทุกปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงานประจำปี (บางกิจการอาจจะมีการทบทวนผลการดำเนินงานทุกเดือน/ ทุกไตรมาส/ ทุก หกเดือน แล้ว แต่สถานการณ์) และกำหนดแนวกลยุทธ์ขององค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ประโยชน์ ของ การวิเคราะห์อุตสาหกรรม
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมจะทำให้ทราบถึงประเด็นต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ดังนี้
1) ปัจจัยสำคัญด้านเศรษฐกิจที่มีต่ออุตสาหกรรม
2) อุตสาหกรรมอยู่ในช่วงใดของวงจรชีวิตอุตสาหกรรม
3) ปัจจัยอะไรบ้างที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม และผลกระทบของปัจจัย ต่าง ๆ เหล่านี้มีอะไรบ้าง
4) ปัจจัยการแข่งขันในอุตสาหกรรมประกอบด้วยอะไรบ้าง และปัจจัยเหล่านั้นมีความเข้มแข็งมากน้อยเพียงใด
5) สถานภาพการแข่งขันขององค์กรธุรกิจต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม
6) สภาวะการแข่งขันที่มีต่อองค์กรธุรกิจ
7) การวิเคราะห์คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม 8) การกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของปัจจัยจาก 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอก และ 2) การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในกับปัจจัยการแข่งขันของอุสาหกรรม จึงขอยกตัวอย่างกรณีศึกษา ของการวิเคราะห์ธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ซึ่งเป็นสินค้าเกษตร และข้อมูลจากการวิเคราะห์ ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด ของธุรกิจได้ต่อไป
ตัวอย่าง การวิเคราะห์ธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน
ภาพรวมอุตสาหกรรม
น้ำพริก เป็นอาหารไทยแท้ที่คู่ครัวของคนไทยมาแต่โบราณ มีรูปแบบและวิธีการปรุงอย่างง่ายๆ ตามแบบไทยแท้ โดยการนำส่วนผสมที่ประกอบด้วยพืช ผัก สมุนไพร ที่มีคุณค่า และสรรพคุณทางยาที่หลากหลาย น้ำพริกแต่ละชนิดมีรสชาดที่เหมาะสมถูกปากคนไทย ทุกถิ่น ทุกภาค และทุกพื้นที่ จากสูตรต้นตำรับที่สืบทอดกันมาจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง และในปัจจุบัน ยังมีการคิดค้นตำรับใหม่ ๆ จากภูมิปัญญาชาวบ้านออกมาเป็นอาหารไทยแปลง คือ มีการดัดแปลงมาจากอาหารของต่างประเทศ หรือเป็นอาหารไทยที่รับมาจากต่างประเทศ บางชนิดคนไทยคุ้นเคยจนไม่รู้สึกว่าเป็นของชาติอื่น จนกระทั่งในปัจจุบันมีสูตรตำรับน้ำพริกออกมามากกว่าร้อยชนิด ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ถูกหลักอนามัย และซื้อหาได้สะดวก ซึ่งน้ำพริกจัดเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่งที่สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน และบางชนิดสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน
ในปัจจุบันยังไม่มีผู้ที่ทำวิจัยว่าประเทศไทยมีผู้ผลิตน้ำพริกจำหน่ายเป็นจำนวนกี่ราย แต่มีการประมาณคร่าว ๆ ว่า มีกว่า 1,000 รายขึ้นไป และมีเกือบทุกจังหวัด ทุกภูมิภาคของประเทศ เนื่องจากน้ำพริกเป็นอาหารที่ทำได้ง่าย และแม้ว่าน้ำพริกจะมีหลายกลุ่ม หลายยี่ห้อ แต่เมื่อชิมแล้วแทบจะแยกไม่ออกเลยว่าเป็นของยี่ห้อใด อาจเป็นเพราะว่า ผู้ประกอบการแต่ละรายมีสูตร และฝีมือในการทำน้ำพริกที่ใกล้เคียงกัน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
เป็นการศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำพริกสำเร็จรูป เช่น ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) โครงสร้างประชากร (Demographic) การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี (Technology) การเมืองและกฎหมาย (Legal and Political) สังคมและวัฒนธรรม (Social and Cultural) เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ มีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำพริก ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหาภาค
ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงที่ผ่านมานั้น และกำลังซื้อของประชาชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน เพิ่มขึ้นจาก 12,150 บาทต่อเดือนในปี 2543 เป็น 12,185 บาทต่อเดือนในปี 2544 ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.3% ต่อปี และค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 9,848 บาทต่อเดือนในปี 2543 มาเป็น 10,025 บาทต่อเดือนในปี 2544 ซึ่งเพิ่มขึ้น 1.8% ต่อปี ทำให้แนวโน้มการใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากวัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตน้ำพริก เป็นวัตถุดิบที่สามารถหาได้ภายในประเทศ โดยไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนทางการเงินจึงไม่มีผลต่อต้นทุนสินค้า
2. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
วัตถุดิบที่นำมาผลิตน้ำพริก ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ ดังนั้นผลผลิตที่ได้จึงขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศเป็นสำคัญ หากเกิดภัยธรรมชาติย่อมส่งผลต่อปริมาณผลผลิต และอาจส่งผลต่อต้นทุนการวัตถุดิบด้วย นอกจากนี้ พริกยังเป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ปราศจากการปรุง และสิ่งสังเคราะห์ใด ๆ

3. สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทำให้ประชาชนให้ความสนใจในการประกอบธุรกิจของตนเองมากขึ้น รวมทั้งการสนับสนุนธุรกิจชุมชนในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จึงทำให้มีผู้ที่หันมาทำธุรกิจส่วนตัวมากขึ้นซึ่งสินค้าประเภทน้ำพริกมีผู้ให้ความสนใจมากเช่นกัน ดังนั้นจึงส่งผลกระทบทำให้ภาพรวมการแข่งขันในอุตสาหกรรมน้ำพริกรุนแรงขึ้น
4. สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี
วิธีการและเทคโนโลยีในการเก็บรักษาอาหารมีการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยในปัจจุบันสามารถเก็บรักษาน้ำพริกให้คงรสชาดและคุณภาพไว้ให้นานขึ้น และเป็นการช่วยลดต้นทุนของเสียได้ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาขั้นตอน อุปกรณ์และเทคโนโลยีในการผลิตน้ำพริกที่ทันสมัยมากกว่าในอดีต
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เข้ามาช่วยในด้านเกษตรกรรม เช่น การตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) จะทำให้สามารถผลิตพริกที่มีคุณภาพและมีต้นทุนที่ต่ำลง แต่การใช้วัตถุดิบที่ผ่านการตัดแต่งพันธุ์กรรม อาจถูกต่อต้านจากบุคคลหรือผู้บริโภคบางกลุ่ม เนื่องจากยังมีการไม่เห็นด้วย และยังมีการต่อต้านการตัดแต่งพันธุ์กรรมของพืชอยู่ในปัจจุบัน
1. สภาพแวดล้อมด้านประชากร
ผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงประชากร ระหว่างปี 2542-2568 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีรายละเอียดดังนี้ คาดว่าจำนวนประชากรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น คือเพิ่มจาก 61.6 ล้านคนในปี 2542 เป็น 70 ล้านคน ในปี 2560 และในปีสุดท้ายของระยะเวลาที่ทำการคาดประมาณคือ พ.ศ. 2568 ประเทศไทยจะมีจำนวนประชากรเท่ากับ 72.1 ล้านคน แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของประชากรจะเพิ่มขึ้นในอัตราลดลง คือในช่วงปี พ.ศ. 2542-2543 อัตราการเพิ่มของประชากรมีค่าประมาณร้อยละ 1.1 ต่อปี จากนั้นอัตราการเพิ่มจะค่อยๆ ลดลงทุกปี ซึ่งเมื่อจำนวนประชากรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้อุตสาหกรรมส่วนใหญ่

ไม่มากหรือค่อนข้างคงที่ ทำให้รัฐสามารถจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นสำคัญ ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคได้รับความรู้และการศึกษามากขึ้น จะทำให้มีเหตุผลและฉลาดในการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ทำให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่จะขายได้ในอนาคตจะต้องมีคุณภาพและคุณค่าราคาเหมาะสม
จากการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไว้นั้นไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกันทุกกรณีศึกษา หรือพิจารณาในทุกปัจจัยในแต่ละรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ปัจจัยแต่ละด้านจะเปลี่ยนไป ปัจจัยบางตัวอาจจะไม่มีผลในรูปแบบธุรกิจหนึ่งแต่อาจจะมีอิทธิพลต่ออีกรูปแบบธุรกิจหนึ่ง
สินค้าอุปโภคบริโภคมีโอกาสในการขยายตัวได้เช่นกัน
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปรากฏว่าโครงสร้างอายุของประชากรจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปจากการมีสัดส่วนประชากรในวัยเด็กมาก มาเป็นสัดส่วนประชากรในวัยเด็กลดลงแต่สัดส่วนประชากรสูงอายุ คือ อายุ 60 ปีขึ้นไป จะสูงขึ้นอย่างมากคือ จากประมาณ 5.6 ล้านคนในปี พ.ศ. 2542 มาเป็น 10.5 ล้านคนในปี พ.ศ. 2559
6. สภาพแวดล้อมด้านสังคม
ขนาดครัวเรือนในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้เนื่องจากคนนิยมมีบุตรน้อยลง แต่งงานช้าลงและมีครัวเรือนที่อยู่คนเดียวมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าครัวเรือนในประเทศไทยในปี 2542 มีจำนวน 15.7 ล้านครัวเรือนมีขนาดครัวเรือนโดยเฉลี่ย 3.9 คน และครัวเรือนที่มีประชากรอยู่คนเดียวร้อยละ 8.6 เพิ่มจากการทำสำมะโนประชากรและเคหะปี 2533 ที่มีครัวเรือนดังกล่าวร้อยละ 5.1 และการที่ครอบครัวมีขนาดเล็กหรืออยู่คนเดียวทำให้มีความพิถีพิถันในการดำรงชีวิตลดลง และไม่นิยมทำน้ำพริกรับประทานเอง ดังนั้นน้ำพริกสำเร็จรูปจึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น
การกระจายตัวของที่อยู่อาศัย
ในปี 2542 ประชากรในกรุงเทพฯ มีจำนวนมากที่สุด คือ 5,662,499 คน รองลงมาคือนครราชสีมาซึ่งมีจำนวน 2,540,662 คน และอันดับ 3 คือ อุบลราชธานีมีจำนวน 1,759,548 คน จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างของจำนวนประชากรในประเทศไทยในแต่ละจังหวัดค่อนข้างมาก และประชากรส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในเมืองใหญ่หรือจังหวัดใหญ่ โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ซึ่งหากสินค้าสามารถทำการตลาดมุ่งเน้นที่ประชากรในเมืองใหญ่ก็จะมีฐานลูกค้าได้เป็นจำนวนมากพอสมควร
การศึกษา
ประชากรมีการศึกษาสูงขึ้น โดยข้อมูลจากกองสถิติสังคมสำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่าจำนวนปีการศึกษาโดยเฉลี่ยของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มจาก 5.7 ปี ใน พ.ศ. 2533 เป็น 7.8 ปี ใน พ.ศ.2543 และประชากรในวัยเด็กที่ลดลงในช่วงเวลาของการคาดประมาณ พ.ศ. 2542-2559 ทำให้ประเทศไทยวางแผนจัดการศึกษา และทรัพยากรให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรวัยเด็ก ที่เพิ่มขึ้น

ไม่มากหรือค่อนข้างคงที่ ทำให้รัฐสามารถจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นสำคัญ ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคได้รับความรู้และการศึกษามากขึ้น จะทำให้มีเหตุผลและฉลาดในการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ทำให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่จะขายได้ในอนาคตจะต้องมีคุณภาพและคุณค่าราคาเหมาะสม
จากการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไว้นั้นไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกันทุกกรณีศึกษา หรือพิจารณาในทุกปัจจัยในแต่ละรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ปัจจัยแต่ละด้านจะเปลี่ยนไป ปัจจัยบางตัวอาจจะไม่มีผลในรูปแบบธุรกิจหนึ่งแต่อาจจะมีอิทธิพลต่ออีกรูปแบบธุรกิจหนึ่ง

ตัวอย่างการิเคราะห์ คู่แข่งการผลิตเนื้อไก่ ระดับประเทศ
กรณี การผลิตอุตสาหกรรมไก่ของประเทศ อาร์เจนติน่า

ปี 2008 อาร์เจนติน่าส่งออกได้ ประมาณ 137,000 ตัน นับเป็นการส่งออกที่เพิ่มขึ้นกว่า 80 % เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคาดว่า จะส่งออกได้เกือบ 5 แสนตัน ในปี 2010 การผลิตของอาร์เจนติน่า เติบโตเร็วมาก และคาดว่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าจะสามารถผลิตไก่ได้เกือบ 1.8 ล้านตัน ในปี 2010 หรือผลิตเป็นสองเท่า ของปริมาณการผลิตในปัจจุบัน ดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น